จาตุรนต์ ฉายแสง (เกิด 1 มกราคม พ.ศ. 2499) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เขาได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารเอเชียวีคให้เป็น 1 ใน 20 ผู้นำชาติเอเชียที่มีบทบาทโดดเด่นในศตวรรษที่ 20
เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2499 ที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นบุตรคนโตของอนันต์ ฉายแสง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฉะเชิงเทรา และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กับเฉลียว ฉายแสง
จาตุรนต์ศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเซนต์หลุยส์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น เข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขณะเรียนชั้นปีที่ 4 เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการกวาดล้างผู้นำนักศึกษา ทำให้เขาไปใช้ชีวิตในป่าระยะหนึ่ง โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า "สหายสุภาพ" ภายหลังสถานการณ์คลี่คลายจึงกลับเข้าเมืองและตัดสินใจไปศึกษาต่อจนสำเร็จปริญญาตรี และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟฟาโล สหรัฐอเมริกา และได้รับทุน Teaching ของมหาวิทยาลัยอเมริกัน สหรัฐอเมริกา เรียนต่อระดับปริญญาเอก จนสอบประมวลความรู้ (Comprehensive) แต่ไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ เนื่องจากกลับประเทศไทยเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 และได้รับการเลือกตั้ง
จาตุรนต์ ฉายแสงสมรสกับจิราภรณ์ ฉายแสง (สกุลเดิม "เปี่ยมกมล") อดีตเลขานุการหน้าห้องของพิศาล มูลศาสตร์สาทร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกระทรวงมหาดไทย โดยพิธีหมั้นระหว่างจาตุรนต์กับจิราภรณ์ มีขึ้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2546 ที่สยามสมาคม
จาตุรนต์มีชื่อจีนว่า หลิว หง อวี่ เมื่อเริ่มศึกษาภาษาจีน และปี พ.ศ. 2551 เขาได้ออกซีดีเพลงจีนที่เขาร้องเอง
จาตุรนต์ ก้าวเข้าสู่การเมืองครั้งแรกจากการชักชวนของผู้เป็นพ่อให้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี 2529 ในนาม พรรคประชาธิปัตย์และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. ฉะเชิงเทราสมัยแรก และสมัยที่ 2 ในปี 2531 และได้ย้ายมาร่วมงานกับพรรคประชาชน ซึ่งนำโดยนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับการเลือกตั้งต่อเนื่องกันมาโดยตลอด จนกระทั่งในการเลือกตั้งปี 2544 จาตุรนต์ได้เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อสังกัดพรรคไทยรักไทย จนกระทั่งเกิดรัฐประหารในปี 2549
ภายหลังรัฐประหาร ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากการเป็นหัวหน้าพรรคไทยรักไทย จาตุรนต์ ได้เข้ามาเป็นหัวหน้าพรรครักษาการแทน
หลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคไทยรักไทยด้วยมติเอกฉันท์ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 แล้ว ซึ่งก่อนมีคำตัดสิน จาตุรนต์ รักษาการหัวหน้าพรรค มีท่าทีว่าจะขอน้อมรับมติของศาล แต่หลังจากนั้นแล้ว จาตุรนต์ได้เดินทางไปที่ทำการพรรคและปราศรัยว่า เป็นการตัดสินที่ไม่เป็นธรรม เป็นคำพิพากษาที่มาจากปากกระบอกปืน ทำให้มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้าน คมช.
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 39
หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม เขาถูกทหารควบคุมตัวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อาคารมณียาเซ็นเตอร์ ถนนเพลินจิต โดยจาตุรนต์มิได้ขัดขืน ระหว่างการแถลงต่อผู้สื่อข่าว
เขาเป็นบุคคลแรกที่ถูกไต่สวนในศาลทหารเนื่องจากไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. เขาถูกตั้ง 3 ข้อหา คือ ขัดคำสั่ง คสช., ยุยงให้เกิดความกระด้างกระเดื่องและให้ทำผิดกฎหมาย (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116) และความผิดต่อความมั่นคงหรือก่อการร้ายตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ รวมมีโทษระวาง 14 ปี
จากการทุ่มเททำงานและยึดมั่นในอุดมการณ์เพื่อส่วนรวม ทำให้เขาได้รับรางวัลยกย่องจากองค์กรต่างๆ มากมาย เช่น
มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • พระประกาศสหกรณ์ (สดับ วีรเธียร) • แสวง เสนาณรงค์ • มนูญ บริสุทธิ์ • สุรินทร์ มาศดิตถ์ • บุญยิ่ง นันทาภิวัฒน์ • ปรีดา พัฒนถาบุตร • นิพนธ์ ศศิธร • ชวน หลีกภัย • นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ • ดุสิต ศิริวรรณ • บุญเรือน บัวจรูญ • สมพร บุญยคุปต์ • ถวิล รายนานนท์ • บุญยง วัฒนพงศ์ • สวัสดิ์ คำประกอบ • เฉลิมชัย จารุวัสตร์ • สิทธิ เศวตศิลา • เกษม จาติกวณิช • ปรีดา กรรณสูต • ยศ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • ประมวล กุลมาตย์ • พร ธนะภูมิ • ดำริ น้อยมณี • สมศักดิ์ ชูโต • มีชัย ฤชุพันธุ์ • ชาญ อังศุโชติ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • สุตสาย หัสดิน • ศุลี มหาสันทนะ • ชาญ มนูธรรม • กระมล ทองธรรมชาติ • ไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์ • บัญญัติ บรรทัดฐาน • จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา • อำนวย สุวรรณคีรี • วิชิต แสงทอง • อรุณ ภาณุพงศ์ • บุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ • กร ทัพพะรังสี • อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ • เฉลิม อยู่บำรุง • ประสงค์ บูรณ์พงศ์ • สรอรรถ กลิ่นประทุม • สอาด ปิยวรรณ • กร ทัพพะรังสี • หาญ ลีนานนท์ • จำรัส มังคลารัตน์ • หม่อมราชวงศ์เกษมสโมสร เกษมศรี • ไพจิตร เอื้อทวีกุล • มีชัย วีระไวทยะ • สายสุรี จุติกุล • ใหม่ ศิรินวกุล • ชัชวาลย์ ชมภูแดง • สุชน ชามพูนท • วัฒนา อัศวเหม • ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • ทินพันธุ์ นาคะตะ • เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • สุรศักดิ์ เทียมประเสริฐ • ชินวุธ สุนทรสีมะ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ปัญจะ เกสรทอง • ปองพล อดิเรกสาร • เรืองวิทย์ ลิกค์ • จรัส พั้วช่วย • รักเกียรติ สุขธนะ • โภคิน พลกุล • บุญพันธ์ แขวัฒนะ • ฉัตรชัย เอียสกุล • ชิงชัย มงคลธรรม • วีระกร คำประกอบ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ • สัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ • ภูษณ ปรีย์มาโนช • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • สุพัตรา มาศดิตถ์ • สาวิตต์ โพธิวิหค • จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ • อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ • สมบุญ ระหงษ์ • ไชยยศ สะสมทรัพย์ • พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ • ปวีณา หงสกุล • ภิญโญ นิโรจน์ • อดิศัย โพธารามิก • จาตุรนต์ ฉายแสง • ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา • สมศักดิ์ เทพสุทิน • กระแส ชนะวงศ์ • พงศ์เทพ เทพกาญจนา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุรนันทน์ เวชชาชีวะ • เนวิน ชิดชอบ • ทิพาวดี เมฆสวรรค์ • ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ • ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล • ชูศักดิ์ ศิรินิล • จักรภพ เพ็ญแข • สุขุมพงศ์ โง่นคำ • สุพล ฟองงาม • สาทิตย์ วงศ์หนองเตย • วีระชัย วีระเมธีกุล • องอาจ คล้ามไพบูลย์ • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ • กฤษณา สีหลักษณ์ • วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล • นลินี ทวีสิน • นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล • วราเทพ รัตนากร • ศันสนีย์ นาคพงศ์ • สันติ พร้อมพัฒน์ • หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล • สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ